คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board, FSB) ระบุว่า แพลตฟอร์มคริปโตต่าง ๆ จำเป็นต้องแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของตนเองและแยกฟังก์ชันให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์
คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (FSB) องค์กรระดับนานาชาติที่ติดตามระบบการเงินทั่วโลก ได้จัดทำแนวทางกำกับดูแลระดับโลกสำหรับคริปโตขึ้นมาแล้ว แนวทางกำกับดูแลแนะนำให้กับผู้นำประเทศเศรษฐกิจ 20 ประเทศ ที่เรียกว่า G20 ภายใต้หลักการ “กิจกรรมเดียวกัน ความเสี่ยงเดียวกัน และข้อบังคับเดียวกัน (same activity, same risk, same regulation)”
หนังสือรายงานและเอกสารแนวทางปฏิบัติสองชุดที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคมนั้น คำแนะนำในเอกสารประกอบด้วยสองชุดคำแนะนำ ได้แก่ คำแนะนำระดับสูงสำหรับกำกับดูแลคริปโตโดยทั่วไป และ “คำแนะนำระดับสูงฉบับแก้ไขปรับปรุง” สำหรับ “global stablecoin” อันหลังนั้นหมายถึงอะไรก็ตามที่เป็น stablecoin ที่สามารถใช้ได้ในเขตอำนาจศาลมากกว่าหนึ่งเขต
FSB กล่าวว่า แพลตฟอร์มคริปโตต่าง ๆ ต้องแยกสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของตนและแยกฟังก์ชันให้ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยหน่วยงานกำกับดูแลแต่ละประเทศต้องมีความร่วมมือและตรวจสอบระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด
คณะกรรมการฯ ยังคงเปิดกว้างเกี่ยวกับการประเมินเรื่องความส่วนตัว มันขึ้นอยู่กับหน่วยงานกำกับดูแลของท้องถิ่นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีกิจกรรมใด “อาจทำให้ยุ่งยากต่อการระบุตัวตนของหน่วยงานที่รับผิดชอบหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” โดยชี้ไปที่โปรโตรคอล DeFi (decentralized finance) หนึ่งในคำแนะนำระดับสูงระบุเอาไว้ว่า
“ทางการควรเข้าถึงข้อมูลตามความจำเป็นและความเหมาะสม เพื่อให้สามารถปฎิบัติตามข้อบังคับ กำกับดูแล และตรวจสอบได้”
เมื่อพูดถึง global stablecoin นั้น FSB ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของผู้ออกเหรียญ stablecoin ควรมีหนึ่งหน่วยงานหรือบุคคลที่รับผิดชอบและสามารถระบุตัวตนได้ ที่เรียกว่า “หน่วยงานกำกับดูแล (governance body)” โดยผู้ออเหรียญจะต้องสำรองสินทรัพย์อัตราขั้นต่ำ 1:1 เว้นแต่ผู้ออกเหรียญจะ “ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่รอบคอบเพียงพอ” เทียบเท่ากับมาตรฐานของธนาคารพาณิชย์
อย่างไรก็ตาม สิ่งใหม่ก็คือ ความเป็นไปได้ของผู้ออกเหรียญ “global stablecoin” จำเป็นต้องได้รับอนุญาตในการดำเนินการภายใต้แต่ละเขตอำนาจศาล คำแนะนระบุเอาไว้ว่า
“ทางการไม่ควรอนุญาตให้ดำเนินการระบบ GSC ในเขตอำนาจศาลของพวกเขา ยกเว้นว่า GSC นั้นสอดคล้องกับกฎระเบียบที่กำหนดในเขตอำนาจศาลของพวกเขาในเรื่องข้อบังคับ การกำกับดูและ และการตรวจสอบได้ รวมถึงการรับรองด้วย”
FSB จะทบทวนสถานะการนำแนวทางของตนมาใช้ทั่วโลกภายในสิ้นปี 2025 ในเดือนกันยายน 2023 จะร่วมมือกับ IMF จัดทำรายงานร่วมกันเกี่ยวกับนโยบายและประเด็นด้านกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ส่งไปให้กลุ่มประเทศ G20
ที่มา : cointelegraph.com