โปรตุเกส ซึ่งถือเป็นประเทศที่เป็นมิตรกับ Crypto มากที่สุดในยุโรป ได้ตัดสินใจที่จะเรียกเก็บภาษีกำไรจากสกุลเงินดิจิทัล ตามรายงานของ Bloomberg เมื่อวันจันทร์
โปรตุเกสจะเก็บภาษี Crypto ระยะสั้นจากกำไรสูงถึง 28%
จากข้อมูลของ Bloomberg รายงานว่า รัฐบาลของโปรตุเกสมีแผนที่จะเก็บภาษีกำไรจาก crypto ที่ถือครองโดยผู้อยู่อาศัย นี่เป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอที่ระบุไว้ในงบประมาณของประเทศในปี 2023 ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บภาษี 28% จากกำไรที่ได้รับจาก Crypto ที่เกิดขึ้นภายใน 1 ปีหรือน้อยกว่า
กฎหมายที่เสนอนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญสำหรับนักลงทุนในโปรตุเกส ก่อนหน้านี้ ประเทศเรียกเก็บภาษีเฉพาะสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับจากบริษัทหรือธุรกิจ โดยการถือครอง crypto เป็นระยะเวลาใดก็ตามไม่จำเป็นต้องเสียภาษี
ตอนนี้ใครก็ตามที่ทำกำไรจากการขาย crypto ที่ถูกเก็บไว้น้อยกว่า 1 ปีจะต้องเสียภาษีสินทรัพย์ Crypto แต่กรณีที่ถือครองมานานกว่าหนึ่งปียังคงได้รับการยกเว้นจากภาระภาษีใด ๆ
นอกจากนี้ ร่างงบประมาณได้ระบุไว้ว่า การโอนคริปโตใดๆ จะต้องเสียภาษี 10% ในขณะที่ค่าคอมมิชชั่นที่เรียกเก็บโดยนายหน้าจะเรียกเก็บภาษีอยู่ที่ 4% ทั้งนี้ การออกและการขุดคริปโตอาจต้องเสียภาษีเงินได้
รัฐบาลโปรตุเกสกล่าวว่า ร่างกฎหมายที่เข้ามาเสนอนั้นเป็นไปตามนโยบาย Crypto ที่คล้ายกันกับประเทศยุโรปอื่น ๆ ซึ่งจะไม่เรียกเก็บภาษีจากผู้ที่ถือครอง crypto ไว้นานกว่า 1 ปี ตามคำแถลงของ António Mendonça Mendes รัฐมนตรีกระทรวงภาษีของโปรตุเกส
บทสรุปภาษี Crypto ล่าสุด
ข้อเสนอนี้อยู่ต่อหน้ารัฐสภาของประเทศและจะต้องได้รับการอนุมัติก่อนจึงจะมีผลใช้บังคับได้ ซึ่งการพัฒนาล่าสุดเกิดขึ้นไม่นานหลังจาก Fernando Medina รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของโปรตุเกสเปิดเผยว่าประเทศกำลังวางแผนที่จะเรียกเก็บภาษีกำไรจากการขาย crypto
อย่างไรก็ตาม ภายหลังรัฐสภาโปรตุเกสได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวที่นำเสนอโดยกลุ่มนักการเมืองสองกลุ่ม
ประเทศอื่นๆ หันมาเรียกเก็บภาษีกำไรจาก Crypto มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยอินเดียกำหนดภาษีกำไรจากการขายที่ 30% สำหรับการถือครองและการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล พร้อมกับหักภาษี 1% จากแหล่งที่มา (TDS) สำหรับธุรกรรมคริปโตทั้งหมด ซึ่งเว็บเทรด Cryptocurrency ในประเทศต่างประสบกับปริมาณการซื้อขายที่ลดลงอย่างมากอันเป็นผลมาจากนโยบายการเรียกเก็บภาษีที่รุนแรง
ในทางกลับกัน เกาหลีใต้ได้เลื่อนแผนการที่จะเก็บภาษี 20% จากรายได้ Crypto จนถึงปี 2025
ที่มา : u.today
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ช่องทางต่างๆเพียงคลิกที่ Line , Facebook , Twitter และ Telegram