ผลวิจัยล่าสุดที่เปิดเผยภายในงาน “Financial Technology and Inclusion in ASEAN” ที่ดำเนินการโดย ASEAN and Global Connections และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ระบุว่า ปัจจุบันบริการโอนเงินได้เปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบชำระเงินดิจิทัลแล้ว เห็นได้จากธุรกิจ Start-up ส่วนใหญ่ที่เริ่มใช้บริการชำระเงินและการชำระหนี้ข้ามพรมแดนรูปแบบใหม่ รายงานยังระบุอีกว่า Ripple เป็นบริการชำระเงินข้ามพรมแดนที่โดดเด่นที่สุด รวมถึง Nium ซึ่งเป็นพันธมิตรของ Ripple เช่นกัน
อาเซียน (ASEAN) หมายถึงสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่รวบรวม 10 ประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
ประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กำลังมีการเปลี่ยนแปลงในแง่ของการชำระเงินที่สะดวกและรวดเร็วผ่านระบบธนาคารดิจิทัล จากข้อมูลการวิจัยเผยว่า ทางเลือกเพื่ออำนวยความสะดวกในการชำระเงินข้ามพรมแดนที่ดีที่สุด คือ การเปลี่ยนมาใช้ระบบการชำระเงินดิจิทัล ซึ่งนอกจากอำนวยความสะดวกแล้วยังช่วยให้การชำระเงินทั้งในและนอกประเทศทำได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนมาใช้ระบบการชำระเงินดิจิดัลนี้ยังช่วยให้ภูมิภาคมีความโดดเด่นและเป็นผู้นำในภาคการชำระเงินอีกด้วย
APAC (กลุ่มประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก) ได้ก้าวขึ้นมาครองธุรกิจธนาคารดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยคิดเป็น 20% ของธนาคารดิจิทัลประมาณ 250 แห่งทั่วโลก
สิงคโปร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าศูนย์กลางทางการเงินที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในโลก ได้มีการออกกฎหมายของรัฐบาลที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนเทคโนโลยีการชำระเงินที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ส่งผลให้การชำระเงินเพิ่มขึ้นกว่า 58% ในปี 2021 ในขณะเดียวกัน ฟิลิปปินส์ก็มีการแข่งขันทางการเงินเช่นกัน โดยที่ธุรกรรมสกุลเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้น 71% ระหว่างปี 2020 และ 2021 อันเนื่องมาจากโซลูชันใหม่ เช่น การโอนเงินด้วย Crypto และตัวเลือกการชำระเงินดิจิทัล
ล่าสุดในคดี Ripple-SEC ได้มีการยื่นคำให้การของจำเลยแล้ว โดยศาลได้กำหนดวันสุดท้ายในเรื่องของตำแหน่ง SEC คือภายในวันที่ 15 เมษายน 2022 และกำหนดเส้นตายสำหรับคำสั่งกำหนดการที่เสนอร่วมในวันที่ 22 เมษายน 2022
ที่มา : u.today
สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ช่องทางต่างๆเพียงคลิกที่ Line , Facebook , Twitter และ Telegram