การรายงานข้อมูลตลาดคริปโตต้องการมาตรฐานระดับโลก เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม FSB แสดงเจตนารมณ์ออกมา
คณะกรรมการความมั่นคงทางการเงิน (Financial Stability Board, FSB) หน่วยงานด้านการเงินระดับโลกที่ได้รับทุนจากธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (Bank for International Settlements, BIS) ได้เปิดตัวรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอร์เรนซี
รายงานผลการศึกษา 30 หน้า เผยแพร่เมื่อวันวันพุธ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับคริปโตเคอร์เรนซีประเภทต่าง ๆ และภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ Bitcoin (BTC), เหรียญ Stablecoin อย่าง Tether (USDT) และ decentralized finance (DeFi)
รายงานกล่าวถึงความเสี่ยงที่อ้างถึงกันทั่วไป เช่น ความล้มเหลวบางอย่างที่อาจเกิดขึ้นจาก Stablecoin ซึ่งเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบนิเวศคริปโตทั้งหมด อันเรื่องมาจากปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างโดดเด่นของ Stablecoin ทาง FSB ยังส่งสัญญาณถึงความเสี่ยงของการยอมรับ DeFi อย่างรวดเร็ว และการไม่มีตัวกลางที่ระบุตัวตนได้อย่างชัดเจน การมีส่วนร่วมของภาคธนาคารที่เพิ่มขึ้นอาจเกิดขึ้นเรื่อย ๆ และอื่น ๆ
FSB ยังชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากช่องว่างของข้อมูลในวงการคริปโต โดยเตือนว่า “ขาดข้อมูลที่โปร่งใส ขาดความสอดคล้องและความน่าเชื่อถือในตลาดสินทรัพย์คริปโต และความเชื่อมโยงกับระบบการเงินหลัก”
“ช่องว่างของข้อมูลเหล่านี้นั้น ทำให้ยากต่อการประเมินขอบเขตทั้งหมดของการใช้สินทรัพย์คริปโตในระบบการเงิน” FSB เสริมอีกว่าช่องว่างดังกล่าวขัดขวางขีดความสามารถในการระบุและการประเมินความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากวงการคริปโตอย่างมีนัยสำคัญ
“ข้อมูลที่มีอยู่ในบล็อกเชนสาธารณะนั้นใช้ออกแบบโดยนิรนามไม่ระบุตัวตน” ด้วยเหตุนี้จึง “ยากต่อการระบุตัวตนของผู้ใช้งานที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล” FSB ระบุ
FSB ระบุช่องว่างข้อมูลจำนวนมาก รวมถึงส่วนแบ่งของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ลงทุนในสินทรัพย์คริปโต ปริมาณของการฉ้อโกงคริปโต การจัดสรรเงินลงทุนของภาคธนาคาร การเป็นเจ้าของ จำนวนและมูลค่าของธุรกรรมในวงการเพย์เมนต์ และอื่น ๆ “ตัวชี้วัดโดยการสำรวจไม่สามารถกำหนดได้เอง …”
FSB ยังกล่าวถึงช่องว่างข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ DeFi เช่น สัดส่วนที่ไม่รู้จักของรายย่อยกับการมีส่วนร่วมของสถาบัน จำนวนแอพพลิเคชั่นแบบกระจายศูนย์บนบล็อกเชน ตัวชี้วัดในการประเมินเลเวอเรจ และอื่น ๆ
“ลักษณะที่ไร้พรมแดนของสินทรัพย์ดิจิทัลทำให้ยากที่จะมองภาพรวมของตลาดเหล่านี้ ฉะนั้นจึงอาจมีความแตกต่างกันด้านตัวเลขสินทรัพย์ที่รายงานโดยแหล่งข้อมูลต่าง ๆ” โฆษก FSB กล่าว ช่องว่างข้อมูลตลาดคริปโตส่วนใหญ่เกิดจาก “การขาดกฎเกณฑ์ข้อกำหนดการรายงานที่เป็นมาตรฐานและกฎระเบียบหรือการปฏิบัติตามกฎระเบียบ”
FSB ยังบอกอีกว่า พวกเขาไม่มีข้อมูลใด ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือการรายงานคริปโตที่เป็นมาตรฐานระดับโลก
ที่มา : cointelegraph.com