Saturday, November 23, 2024
Homeข่าวสาร คริปโตนายเอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Zipmex เสนอตัวเข้าพบสรรพากร เพื่อสะท้อนความรู้สึกของนักลงทุน

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Zipmex เสนอตัวเข้าพบสรรพากร เพื่อสะท้อนความรู้สึกของนักลงทุน

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง Zipmex เสนอตัวเข้าพบสรรพากร เพื่อสะท้อนความรู้สึกของนักลงทุน

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งซิปเม็กซ์ (Zipmex) ประเทศไทย เปิดเผยในรายการ Morning Wealth ของ THE STANDARD WEALTH ว่า Zipmex ในฐานะที่เป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลจะขอเสนอตัวเป็นปากเป็นเสียงและเป็นตัวแทนของลูกค้า นักลงทุน และวงการสินทรัพย์ดิจิทัลไทย เข้าไปพูดคุยกับกรมสรรพากรเพื่อสะท้อนความรู้สึกของนักลงทุนที่มีต่อวิธีการจัดเก็บภาษีคริปโต รวมถึงให้ข้อเสนอแนะต่อกรมสรรพากร

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ระบุว่า ความชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการคำนวณและจัดเก็บภาษีคริปโตที่ออกมาจากกรมสรรพากรในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ก่อให้เกิดเสียงตอบรับจากนักลงทุนในเชิงไม่เห็นด้วยค่อนข้างมาก แม้การเก็บภาษีจะไม่ใช่เรื่องผิด แต่ภาครัฐควรมีความชัดเจนว่าจะมองคริปโตเป็นสินค้าหรือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัล เหมือนเช่นการจัดเก็บภาษีคริปโตในต่างประเทศ

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ได้ระบุว่า

“ถ้าจะมองว่าคริปโตเป็นสินค้าก็คิดเป็น Withholding Tax ไป แต่นี่เรามองเป็นสินทรัพย์ด้วยจึงจัดเก็บ Capital Gain Tax อีก แต่ Capital Gain Tax ก็ไม่เหมือนในประเทศอื่นที่เขาแยกจากภาษีรายได้บุคคล ไม่ใช่คิดเฉพาะจากกำไร ส่วนขาดทุนเอามาหักลบกันไม่ได้ ผมคิดว่าการคิดแบบนี้เป็นการคิดภาษีที่ผิดหลักการ จริยธรรม และผิดจากหลายตำราเลย”

Siam Bitcoin

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล ยกตัวอย่างการจัดเก็บภาษีคริปโตในต่างประเทศว่า จากที่ติดตามมาพบว่าไม่ค่อยมีประเทศใดที่มองคริปโตเป็นสินค้าที่ต้องหักภาษี อาจมีอินโดนีเซียที่มองเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ประเทศส่วนมากจะมองเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลหรือสกุลเงินไปเลย 

โดยในสิงคโปร์ปัจจุบันไม่มีการเก็บภาษีทั้งส่วนที่ Capital Gain Tax และ Withholding Tax เว้นแต่กรณีที่เป็น Security Token จึงจะตีความว่าเป็นหลักทรัพย์ที่ต้องเสียภาษี ส่วนในออสเตรเลียและสหรัฐฯ แม้จะมี Capital Gain Tax แต่ถ้าผู้ลงทุนถือครองคริปโตมากกว่า 12 เดือน สามารถหักเป็นส่วนลดได้ 50% และยังนำส่วนที่ขาดทุนมาหักลบได้ด้วย ซึ่งต่างจากไทยที่นับแต่กำไร

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล กล่าวว่า

“การคิดภาษีเฉพาะที่มีกำไรในลักษณะ Growth Income Tax ผมไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถ้ามีโอกาสได้พูดคุยกับภาครัฐอาจต้องถามตรงๆ เลยว่าเก็บภาษีตรงนี้เพื่อไม่อยากให้วงการดิจิทัลเกิดหรือเปล่า ปิดกั้นหรือเปล่า ถ้าเขาบอกว่าปิดกั้นก็ต้องบอกเลยว่าแล้วคุณให้ใบอนุญาตผมมาทำไม คงต้องคุยกันตรงๆ”

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล กล่าวอีกว่า เข้าใจว่าสถานการณ์โควิดทำให้รัฐขาดรายได้ จึงต้องเพิ่มรายได้จากการจัดเก็บภาษี ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ก็เพิ่งจะประกาศเก็บภาษีขายหุ้นที่ล้านละ 1,000 บาทไป แต่โดยส่วนตัวมองว่าการหาเงินเข้ารัฐยังมีวิธีการที่ดีกว่านี้ เช่น ถ้ารัฐสนับสนุนวงการสินทรัพย์ดิจิทัลให้เกิดขึ้นในเมืองไทย จะสามารถดึงเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็น FDI ได้อย่างมหาศาล เกิดการจ้างงานในประเทศ คนไทยมีทักษะเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลที่ดีขึ้น ต่างชาติก็เสียภาษี นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้หน้าตาในการเป็น Digital Asset Hub ซึ่งโดยรวมแล้วรายได้ที่จะเกิดขึ้นน่าจะมากกว่าการจัดเก็บภาษีคริปโต

นายเอกลาภ ยิ้มวิไล กล่าวเพิ่มเติมว่า

“ต้องยอมรับว่าตลาด Digital Asset ในปีที่ผ่านมาโตมากๆ คนรุ่นใหม่เข้ามาเยอะ รัฐบาลอาจมองว่ามันยังมีความไม่ชัดเจนอยู่ มีการ Scam การ Rug Pull มีปัญหาเยาวชนไม่เรียน ลาออกมาเทรด แต่การตอบสนองด้วยการเก็บภาษีอย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง ประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัลเองก็มีมาก สังคมดิจิทัลไทยก็มีศักยภาพที่จะเป็นเบอร์ 1 ในอาเซียนเช่นกัน ไม่อยากมองเป็นภัยอันตรายอย่างเดียว”

ที่มา : thestandard.co/THE STANDARD WEALTH

สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ช่องทางต่างๆเพียงคลิกที่ Line Facebook Twitter และ Telegram

Sponsorspot_img
spot_img
spot_img
spot_img
ติดตาม Siambitcoin

ข่าวล่าสุด