อดีตนักเศรษฐศาสตร์ของ IMF บอกว่า ทั้งสกุลเงินดิจิทัลภาคเอกชนและสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง ไม่ควรมีการผูกขาด
อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางอินเดีย คุณ Raghuram Rajan บอกว่า คริปโตเคอร์เรนซีภาคเอกชน อย่าง Bitcoin (BTC) และ Libra ของ Facebook นั้น อาจมีอนาคต แม้ว่าธนาคารกลางจะออกสกุลเงินดิจิทัลของพวกเขาก็ตาม
นอกจากนี้ คุณ Rajan เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของกองทุนเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในช่วงปี 2003–2006 กล่าวในรายการพอรดแคสต์ CNBC ว่า หนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลเหลานี้ อาจกลายเป็นปัญหาได้ หากมีการผู้ขาดเกิดขึ้น
ทั้งนี้ เขาเชื่อว่าจะมีสกุลเงินดิจิทัลจากภาคเอกชนโดยมีบทบาทแตกต่างกันออกไป และเกิดการแข็งขันกันกับสกุลเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน
อดีตนายธนาคารกลางบอกว่าในอนาคต Bitcoin ส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นตัวเก็บมูลค่า หรือสินทรัพย์เพื่อการเก็งกำไรมากกว่าตัวกลางในการแลกเปลี่ยน “Bitcoin เปรียบเหมืองทองคำ” เขาเสริม
ในทางตรงกันข้าม Libra จะถูกใช้ทำธุรกรรมทุกวัน คุณ Rajan กล่าว
คุณ Rajan ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการออกสกุลเงินดิจิทัลโดยธนาคารกลาง (CBDC) โดยมองว่า ธนาคารต่าง ๆ จะได้รับข้อมูลมหาศาลจากการใช้งาน CBDC แต่ประชาชนจะไม่สบายใจนักในการแบ่งปันข้อมูลการชำระเงินส่วนบุคคล ธนาคารต่าง ๆ จำเป็นต้องตัดสินใจว่าพวกเขาต้องการรวบรวมข้อมูลอะไรและจะใช้งานข้อมูลอย่างไรบ้าง
ทำนองเดียวกันสกุลเงินดิจิทัลของภาคเอกชน จะมีปัญหาเช่นกันหากมี “สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางผูกขาดไม่ยอมให้ธนาคารกลางอื่นใช้งาน ผูกขาดการจัดการสกุลเงินและข้อมูลที่มาพร้อมกับมัน”
มันจะเกิดประโยชน์ หากสกุลเงินดิจิทัลของภาคเอกชนและจากธนาคารกลางมีการแข่งขันกันเต็มที่
คุณ Rajan สรุปว่า แม้ว่าจะมีความท้าทายที่ต้องแก้ไขในวงการสกุลเงินดิจิทัล เขาก็อยากเห็นสกุลเงินดิจิทัลภาคเอกชนอยู่ร่วมกันกับสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง เพื่อดูว่าตัวไหนทำงานได้ผลดีที่สุด
ที่มา : cointelegraph.com
——————————————————–
สนับสนุนโดยกลุ่ม Coin Thai Talk : https://www.fb.com/groups/CoinThaiTalk/ กลุ่มใหม่ของคนรักคริปโต