ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (Bank of Japan, BoJ) ประกาศเมื่อวันพฤหัสฯ จะเริ่มทดสอบสกุลเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้จากมุมมองทางเทคนิค
BoJ ต้องการแปลงเงินสดเป็นดิจิทัล และคงได้เห็นญี่ปุ่นไล่ตามทันจีนเมื่อพร้อมเริ่มทดสอบ CBDC ของตนแล้ว นับเป็นครั้งแรกที่ BoJ เปิดเผยเริ่มต้นกระบวนการ Proof of Concept (PoC) เงินหยวนดิจิทัลแล้ว แต่ธนาคารยังไม่เปิดเผยกำหนดการอย่างชัดเจน
ในรายงานที่เรียกว่า Technical Hurdles for CBDC ธนาคารระบุเอาไว้ว่า “จะตรวจสอบความเป็นไปได้ของ CBDC จากมุมมองทางด้านเทคนิค ความร่วมมือกับธนาคารกลางอื่น ๆ และสถาบันที่เกี่ยวข้อง และข้อพิจารณาในการออกสกุลเงิน CBDC”
ในเดือนกุมภาพันธ์ มีข่าวออกมาว่า ธนาคารกลางอังกฤษ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดา สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์ ได้ประกาศแผนความร่วมมือวิจัยการออกสกุลเงินดิจิทัล
อุปสรรคหลักสองประเด็น
BoJ คิดว่า มีอุปสรรคหลักสองประเด็นทางเทคนิค การเข้าถึงและความยืดหยุ่นระดับสากล การเข้าถึงหมายถึงทุกคนเข้าถึงได้ โดยปราศจากมือถือ ข้อมูลจาก Nikkei ในปี 2018 คนญี่ปุ่นมีเพียง 65% เท่านั้นที่มีมือถือ BoJ บอกว่า “การพัฒนา CBDC ให้พร้อมใช้งานได้แก่ผู้คนหลากหลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง”
ส่วน ‘ความยืดหยุ่น’ หมายถึง สามารถใช้งานแบบออฟไลน์ได้แม้ไฟฟ้าดับ BoJ เน้นความสำคัญของการเข้าถึงได้ไม่ว่าอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบใด แม้แต่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างเช่น แผ่นดินไหว
เงินเยนดิจิทัลและบล็อกเชน
BoJ กำลังพิจารณาว่าจะใช้หรือไม่ใช้บล็อกเชนสำหรับ CBDC ระบบรวมศูนย์มีข้อดีในแง่ของ “ศักยภาพสูงมากและทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็ว” แต่ระบบจะหยุดชะงักหากจุดเดียวล้มเหลว
ในทางตรงกันข้าม สกุลเงิน CBDC ที่ใช้เทคโนโลยี DLT สามารถแก้ปัญหาการล้มเหลวจากจุดเดียวได้ และมีความยืดหยุ่นกว่า แต่การทำธุรกรรมใช้เวลานนานกว่าเนื่องจากเครือข่ายบล็อกเชนจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากหลายจุด
BoJ สรุปว่า
ระบบแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ทั้งคู่ต่างมีข้อดีและข้อเสีย… กรณีของการทำธุรกรรมขนาดใหญ่…นั้นดีกว่าหากใช้ระบบรวมศูนย์…ในกรณีที่ทำธุรกรรมแบบจำกัดและต้องการความยืดหยุ่น…ควรพิจารณาใช้ระบบกระจายศูนย์
ที่มา : cointelegraph.com
——————————————————–
สนับสนุนโดยกลุ่ม Coin Thai Talk : https://www.fb.com/groups/CoinThaiTalk/ กลุ่มใหม่ของคนรักคริปโต