ก.ล.ต.สหรัฐฯ ปฏิเสธคำร้องในเรื่องการสร้างกฎระเบียบคริปโต ถือเป็นการปฏิเสธอีกครั้งที่ไม่ได้ให้ความชัดเจนด้านกฎระเบียบสำหรับวงการที่ต้องการมันอย่างยิ่ง
เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีและการดำเนินการธุรกิจแปลกใหม่ การกำกับดูแลตนเองอาจขัดขวางความสามารถของอุตสาหกรรมใหม่และการพัฒนาใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น ผู้สนับสนุนคริปโตคิดว่าบัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์และการดำเนินการด้วยตนเองอาจสร้างความเปลี่ยนแปลงมากพอ (ในทางที่ดี) จึงควรมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมเพียงพอ ซึ่งเป็นเรื่องเก่าที่ Gary Gensler ประธาน ก.ล.ต.สหรัฐฯ ไม่เห็นด้วยก่อนหน้านี้
Gensler พูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าว่า 99.99999999% โทเคนคริปโตเป็นหลักทรัพย์ ตามความคิดของเขานั้นนวัตกรรมบล็อกเชนที่นึกทักเอาว่าเป็นเพียงแค่วิธีการใหม่ในการทำสิ่งเก่า ๆ เดิม ๆ ดังนั้น Gensler จึงใช้กฎเกณฑ์และระเบียบที่มีอยู่กำกับควบคุมอุตสาหกรรมที่กลายเป็นแหล่งของการฉ้อโกงและการทดลองทางการเงิน
วันนี้ก็ไม่ต่างกัน การยื่นฟ้องทางกฎหมายครั้งใหม่ระหว่าง ก.ล.ต.สหรัฐฯ กับ Coinbase ยังคงไม่แน่ไม่นอน ผู้บริหารหน่วยงานยังยืนกรานจุดยืนของตนว่า “มีดุลยพินิจในการกำหนดเวลาและลำดับความสำคัญของวาระในการกำกับดูแล” Gensler กล่าวในแถลงการณ์
การปฎิเสธนั้นเป็นการตอบสนองต่อคำรองของ Coinbase ที่ยื่นต่อ ก.ล.ต.ในปี 2022 ในเรื่อง “การสร้างกฎระเบียบใหม่” ให้เหมาะสมกับบล็อกเชน ซึ่งกลายเป็นคดีฟ้องร้องโดยตลาดฯ ที่ไม่ได้รับการตอบกลับจากหน่วยงาน โดย Coinbase ขอให้ผู้พิพากษาสหรัฐฯ บังคับให้ ก.ล.ต. เขียนกฎระเบียบใหม่หรืออย่างน้อยก็ต้องสนองต่อคำร้องของตลาดฯ
ล่าสุด ก.ล.ต.ตอบสนองเพียงพอหรือไม่? หน่วยงานกล่าวว่าการร้องขอของ Coinbase นั้น “ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้” และไม่ได้ให้รายละเอียดมากนัก ในรายงานสองหน้า ก.ล.ต.ชี้ว่าตน “มีดุลยพินิจมากพอ” ตามกฎหมาย (โดยอ้าง 2007 Supreme Court case, Massachusetts v. EPA) ที่ว่า “ได้ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมกับผู้เข้าร่วมตลาด” และ “อาจดำเนินการเพิ่มเติมจากประเด็นพิจารณาที่มาจากคำร้องขอ”
อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต.สหรัฐฯ ไม่ได้พูดอะไรในรายละเอียดเกี่ยวกับคำถามที่ว่าทำไมคริปโตเคอร์เรนซีถือว่าเป็นหลักทรัพย์ หรือความปรารถนาของ Coinbase ที่ต้องการสร้าง “ข้อกำหนดที่ชัดเจนในเรื่องการเสนอหรือขายหลักทรัพย์สินทรัพย์ดิจิทัล”
ความใกล้เคียงที่สุดที่หน่วยงานทำบางสิ่งเมื่อกล่าวถึงหน่วยงานนั้นคือการดำเนินการทางกฎหมายจำนวนมากต่อ “ผู้มีส่วนร่วม” ในวงการคริปโต (เดาว่าเป็น “การมีส่วนร่วม” ที่หน่วยงาน “ได้ประโยชน์” เมื่อพิจารณาแล้วหลายบริษัทคริปโตกล่าวว่าพวกเขาพบว่าการเปิดประตูของ Gensler นั้นปิดลงแล้ว?)
จริง ๆ แล้ว ด้วยเหตุผลวกวน ก.ล.ต.กล่าวเป็นพิเศษว่ามุมมองเกี่ยวกับคริปโตเคอร์เรนซีนั้นมาจาก “ข้อมูลและสารสนเทศ” ที่รวบรวมมาจาก “การดำเนินการทางกฎหมาย …คณะกรรมาธิการกำลังดำเนินการอยู่” กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก.ล.ต.กำลังดำเนินคดีทางกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องหลักทรัพย์ต่อบริษัทคริปโต ไม่สามารถพิจารณาการเปลี่ยนแปลงที่สนับสนุนการดำเนินการทางกฎหมายได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้เรียนรู้จากกรณีเหล่านั้น
แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากการดำเนินการทางกฎหมายเหล่านั้นไม่เคยมีความชอบธรรมตั้งแต่แรกแล้ว? นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ก.ล.ต.อ้างเรื่องกฎหมาย ในการฟ้องร้องต่อตลาด Kranken ล่าสุด ก.ล.ต.ก็อ้างข้อเท็จจริงที่ว่าตลาดฯ ได้ลิสต์โทเคนที่หน่วยงานเรียกว่าหลักทรัพย์ที่ดำเนินการคล้าย ๆ กันกับกรณีของ Binance และ Coinbase ทั้งนี้ จนถึงบัดนี้ ก.ล.ตก็ยังไม่กำหนดอย่างจริงจังว่า โทเคนใด ๆ เป็นหลักทรัพย์หรือไม่อย่างไร
“ฉันรู้ว่า Gary บอกว่าโทเคนส่วนใหญ่เป็นหลักทรัพย์ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่ได้มีการพิจารณาจากศาลส่วนใหญ่…” Austen Campbell ศาสตราจารย์จาก Columbia Business School และอดีตผู้จัดการกองทุนของ Paxos บอกกับทาง CoinDesk
Campbell ตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินของผู้พิพากษา Torres ในคดีฟ้องร้องของ ก.ล.ต.ต่อ Ripple นั้น สร้างความชัดเจนระหว่าง “สัญญาเพื่อการลงทุน” ของ Ripple ที่ทำกับสถาบันที่เป็นผู้ซื้อ XRP และโทเคนเอง ซึ่งไม่พบว่าเป็นหลักทรัพย์ นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องอ้าง Administrative Procedures Act (APA) ที่อาจจำกัดความ “ดุลยพินิจมากพอ” ของ ก.ล.ต. ในการดำเนินการใด ๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากสภาคองเกรสล่วงหน้า
การปฏิเสธเมื่อวันศุกร์สำคัญหรือไม่ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน จริง ๆ แล้วดูเหมือนจะเป็นเรื่องซ้ำซากมากขึ้น หน่วยงานมีอิสระต่อการคุกคามคริปโตตามที่ต้องการ อาจกล่าวได้ว่ายุคแห่งความรู้สึก (Age of Vibes) ที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เหรียญมีมติดอันดับต้น ๆ อัตราเงินเฟ้อนั้นรู้สึกได้มากกว่าที่วัดได้ และมีการตัดสินใจลงทุนโดยใช้สัญชาตญาณ Gensler นั้นคือคนที่ใช้ความรู้สึกสูงสุดท่ามกลางเหตุการณ์เหล่านั้น การตัดสินใจให้โทเคนเป็นหลักทรัพย์ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของตรรกะเหตุผลที่ตรวจสอบได้ แต่เป็นเพราะสิ่งที่เขารู้สึกลึก ๆ ในใจเท่านั้น
เมื่อ Coinbase ขอให้มีการสร้างกฎระเบียบใหม่ในปี 2022 Faryar Shirzad หัวหน้าเจ้าหน้าที่ด้านนโยบายของบริษัทฯ ได้โพสต์ในบล็อกโดยละเอียดว่า “กฎระเบียบหลักทรัพย์ใช้ไม่ได้กับเครื่องมือลงทุนดิจิทัล” เขาอ้างสิ่งต่างๆ เช่น ตราสารหนี้และทุนที่แปลงเป็นโทเคน โทเคนอรรถประโยชน์ และโทเคน NFT
เป็นที่ชัดเจนแล้วว่ามีการใช้คริปโตเพื่อการลงทุน ฉะนั้นจึงมีแนวโน้มว่า คณะกรรมการ ก.ล.ต.มีบทบาทในการกำกับดูแลอุตสาหกรรมและช่วยให้นักลงทุนปลอดภัย คำร้องของ Coinbase พยายามพิจารณาว่าเมื่อใดและที่ไหนที่อาจเหมาะสม แต่ ก.ล.ต.กลับปฎิเสธที่จะมีส่วนร่วมอย่างน่าเสียใจ
ที่มา : coindesk.com