ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ หรือ BIS (Bank for International Settlements) คาดว่า วิกฤติโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการชำระเงินของรายย่อย ทำให้มีการเร่งพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (CBDC) ขึ้นมา
BIS เป็นองค์การระหว่างประเทศในสวิตเซอร์แลนด์ ประกอบไปด้วยสมาชิกจากธนาคารกลางทั่วโลก 60 แห่ง และก่อนหน้านี้ได้ออกรายงานมุ่งเน้นเรื่องคริปโตเคอร์เรนซีและสกุลเงิน CBDC โดยเฉพาะ สกุลเงิน CBDC แตกต่างจากคริปโตเคอร์เรนซี เนื่องจาก CBDC เป็นสกุลเงินที่ออกโดยธนาคารกลางที่มีสถานะถูกต้องตามกฎหมายขึ้นอยู่กับกฎระเบียบการกำกับดูแลหรือกฎหมายของรัฐ
โควิด-19 กับสถานการณ์การชำระเงินทั่วโลก
รายงานล่าสุดของ BIS เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ระบุเอาไว้ว่า โรคโควิด-19 ระบาดหนักสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อวงการการชำระเงินรายย่อย (retail payment) อย่างกว้างขวาง เผยให้เห็นถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของระบบที่มีอยู่
ประการแรก รายงานชี้ว่า การใช้เงินสดชำระเงินลดลงอย่างมาก เนื่องจากร้านค้าและผู้บริโภคกังวลต่อการแพร่เชื้อไวรัส ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจส่งผลให้ “ถือครองเงินสดอย่างระมัดระวัง” ทำให้การทำธุรกรรมแต่ละวันลดลงมาก
ขณะเดียวกัน มาตรการที่เข้มงวดที่ออกมาจากรัฐบาล อย่างเช่น การปิดร้านค้า ทำให้มีการชำระเงินอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น การเคลื่อนย้ายลดลงส่งผลให้การทำธุรกรรมผ่าน Visa และการส่งเงินข้ามแดนของแรงงานข้ามชาติลดลงด้วย
การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ BIS เผยว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียต่อระบบการเงินที่มีอยู่ อีกแง่หนึ่ง การชำระเงินแบบดิจิทัลทำให้กิจกรรมทางธุรกิจจำนวนมากดำเนินต่อไปได้ แม้ว่ากิจกรรมหลักประจำวันหยุดชะงักลง
อีกด้านหนึ่ง ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มทางสังคมได้กลายเป็นสิ่งที่เลวร้ายในช่วงวิกฤติ ส่วนหนึ่งเกิดจากระดับการเข้าถึงบริการทางการเงินไม่เท่าเทียมกัน อาจส่งผลเสียต่อการบรรเทาทุกข์ของประชาชน
วิกฤติดังกล่าวได้ขยายการเรียกร้องให้สามารถเข้าถึงการชำระเงินแบบดิจิทัลได้มากขึ้น โดยลดช่องว่างและให้มีการเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น ให้บริการการชำระเงินต้นทุนต่ำกว่าเดิมในอนาคต
ศักยภาพของสกุลเงิน CBDC
ภายใต้บริบทนี้ รายงานตั้งข้อสังเกตว่า การออกสกุลเงิน CBDC เป็น “แนวคิดนโยบายที่เหมาะสมกับเวลา” สำหรับธนาคารกลาง และ “ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง (sea change)”
รายงานพยายามแยกจุดมุ่งหมายกับวิธีการเข้าถึง CBDC ในอนาคต จากภูมิทัศน์ของภาคเอกชน ว่า
การออกสกุลเงิน CBDC ไม่ได้มีปฎิกิริยาส่งผลต่อคริปโตเคอร์เรนซีและโครงการเหรียญ stablecoin ของภาคเอกชนมากนัก แต่ทว่าจะมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีโดยธนาคารกลางในการดำเนินงานตามนโยบายสาธารณะ
ความสำเร็จของ CBDC ธนาคาร BIS บอกว่า จะต้อง “ทันสมัย ปลอดภัย น่าเชื่อถือ และเข้าถึงได้อย่างกว้างขวาง” รายงานยังวิเคราะห์ CBDC ทั้งสองรูปแบบอีกด้วย ทั้งการชำระเงินระหว่างธนาคาร (Wholesale CBDC) และการชำระเงินสำหรับรายย่อย (retail CBDC) โดยชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิกฤติโคโรนาไวรัสเกิดขึ้นในช่วงที่ทั้งธนาคารกลางและผู้กำหนดนโยบายกำลังมีมุมมองเชิงบวกต่อประโยชน์ที่เป็นได้ของสกุลเงิน CBDC ทั้งสองรูปแบบ
BIS สรุปข้อมูลการตื่นตัวของธนาคารกลางเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น โดยพูดถึงกันอย่างกว้างขวางและออกมาเชิงบวกมาก ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
โดยสรุปแล้ว BIS บอกว่าจะสนับสนุนการวิจัยและการออกแบบสกุลเงิน CBDC ของธนาคารกลางทั่วโลก สถาบันเรียกร้องให้มีการประสานงานระหว่างประเทศให้มากขึ้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่า หลังวิกฤติจะเกิดการเปลี่ยนแปลงการชำระเงินทั่วโลก มีการแบ่งแยกน้อยลง เข้าถึงบริการได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพมากกว่าอดีตที่ผ่านมา
ที่มา : cointelegraph.com
——————————————————–
สนับสนุนโดยกลุ่ม Coin Thai Talk : https://www.fb.com/groups/CoinThaiTalk/ กลุ่มใหม่ของคนรักคริปโต