ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank, ECB) เน้นย้ำถึงข้อดีของการออกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ขณะที่ระมัดระวังถึงคำแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดยธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (International Settlements, BIS) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม
Vitas Vasiliauskas ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งลิทัวเนียและสมาชิกสภาปกครองของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมคณะกรรมการ Reinventing Bretton Woods Committee conference ในหัวข้อ “Managing the Soft Landing of the Global Economy” ในวันที่ 12 เมษายน Vasiliauskas ได้พิจารณาว่า CBDC ควรออกแบบเป็น wholesale หรือ retail หรือทั้งสองรูปแบบก็ได้
Vasiliauskas เน้นย้ำว่าควรทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน หมายถึงใช้ในการชำระเงิน และเก็บมูลค่าของเงินใช้ในการซื้อสินค้าหรือบริการ (Stored Value) สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของเงินธนาคารกลาง แต่ไม่ใช่บัญชีสำรองทั่วไปหรือสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนตัว ในการออก CBDC แบบ Retail นั้น เป็นรูปแบบที่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ ขณะที่แบบ Wholesale เปิดให้สถาบันใช้งานเท่านั้น
ท่ามกลางข้อดีของการออก CBDC นั้น Vasiliauskas อ้างว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการชำระเงินและมีความปลอดภัยสูง และลดความเสี่ยงด้านเครดิตและสภาพคล่องของคู่สัญญา ส่วน CBDC รูปแบบ retail ที่มีดอกเบี้ยอาจปรับปรุงผ่านทางนโยบายทางการเงินได้และเสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านนโยบายดอกเบี้ยเงินฝากหรือสินเชื่อได้ อย่างไรก็ตาม Vasiliauskas เตือนว่า
จำนวนเงินสดหมุนเวียนในบางประเทศอาจลดลง อาจจะมาถึงสักวันหนึ่งแม้ว่าจะดูห่างไกล ทุกคนจะมีบัญชีกับองค์กรเอกชนสำหรับใช้ในการใช้จ่ายเงินทั้งหมด น่าเสียดาย สิ่งนี้อาจจะนำไปสู่การกระจุกตัวของบริการการเงินในระดับสูง (financial exclusion)
CBDC รูปแบบ retail อาจจะทำให้มั่นใจได้ว่าประชาชนสามารถเข้าถึงเงินของธนาคารกลางได้อย่างต่อเนื่อง Vasiliauskas กล่าว และท้ายที่สุดก็อาจส่งผลเชิงบวกต่อเสถียรภาพทางการเงิน ในระหว่างนี้ประเด็นสำคัญที่ธนาคารกลางควรทำได้แก่ มาตรฐานในการต่อต้านการฟอกเงิน และแนวทางที่สามารถใช้งานที่ไม่ระบุตัวตนของ CBDC
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม ECB ได้ออกรายงานเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสกุลเงินดิจิทัลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและนโยบายการเงิน โดยระบุว่าผลกระทบดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก คริปโทเคอร์เรนซีเป็นตัวแทนเงินสดและเงินฝากที่น่าเชื่อถือ ขณะที่ปัจจุบันยังไม่สามารถทำหน้าเป็นเงินได้อย่างเต็มรูปแบบ
ที่มา : cointelegraph.com