การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์ “ความซับซ้อน” ของพฤติกรรมผู้ใช้และพลวัตของการกู้ยืมในระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) ซึ่งยังไม่ค่อยมีการศึกษาถึงกันมากนัก
- พฤติกรรมของผู้กู้ยืมในระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) มีความสำคัญต่อการออกแบบแพลตฟอร์มการกู้ยืมแบบมีหลักประกัน โดยใช้สินทรัพย์ดิจิทัลแบบใหม่ ๆ ที่กำลังเกิดขึ้น
- ผู้เขียนงานวิจัยอ้างว่าพวกเขาเป็นคนแรกที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเลเวอเรจของกระเป๋าเงิน DeFi แต่ละรายการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกังวลด้านเสถียรภาพทางการเงิน
พฤติกรรมของผู้กู้ในระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) และสภาพคล่อง ของตลาด DeFi เป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเมื่อออกแบบและจัดการแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์แปลงเป็นโทเคน (tokenized asset) สรุปโดยผลการศึกษาจาก ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (International Settlements, BIS)
สถาบันการเงินทั่วโลกกำลังทดลองแปลงสินทรัพย์ดั้งเดิม เช่น พันธบัตรและหลักทรัพย์ ให้เป็นโทเคน (tokenization) มากขึ้น การทำงานของแพลตฟอร์มให้ยืมแบบ DeFi (Decentralized Finance) ช่วยให้มองเห็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการแปลงเป็นโทเคน และผลกระทบที่อาจเกิดต่อระบบการเงินแบบดั้งเดิม ผลการศึกษาฯ ระบุ
การศึกษาพบว่าผู้กู้ยืมใน DeFi (Decentralized Finance) มักจะไม่กู้ยืมมากเกินไป เนื่องจากการกู้ยืมมากเสี่ยงต่อการถูกชำระบัญชี (liquidation) โดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายถึงการขายสินทรัพย์ที่วางเป็นประกันโดยอัตโนมัติ กรณีสถานะการเงินของผู้กู้มีความเสี่ยงสูงเกินไป ผู้กู้ฯ นิยมใช้วิธีการกู้ยืมอย่างระมัดระวัง พวกเขาจะวางหลักประกันเพิ่มเติม (buffer) เพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีราคาสินทรัพย์ลดลง
Lioba Heimbach และ Wenqian Huang อ้างว่าเป็นกลุ่มคนแรก ๆ ที่บันทึกการใช้เลเวอเรจของกระเป๋าเงิน DeFi แบบแยกประเภท ผลการวิจัยของพวกเขาอาจเกี่ยวข้องกับความเข้าใจในความกังวลด้านเสถียรภาพทางการเงินที่เกิดจาก DeFi
“พวกเขาทำการศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากบล็อกเชน Ethereum มุ่งเน้นไปที่ความยืดหยุ่นในการให้กู้ยืมและพฤติกรรมการทดแทนเชิงกลยุทธ์”
ธนาคารเพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ (BIS) ให้ความสนใจในระบบการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) มาระยะหนึ่งแล้ว ในปี 2023 ธนาคาร BIS ร่วมมือกับธนาคารกลางของฝรั่งเศส สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ ประสบความสำเร็จในการทดสอบสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ข้ามพรมแดน รวมถึงการใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบของ DeFi โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวสร้างตลาดอัตโนมัติ (AMM) บทความวิจัยสองชิ้นที่เผยแพร่โดยธนาคาร BIS ในปี 2022 ชี้ว่า DeFi อาจส่งผลต่อความผันผวนของตลาดการเงินมากขึ้น และอาจไม่สามารถแก้ไขปัญหาการครอบงำตลาดโดยสถาบันการเงินขนาดใหญ่ได้
การศึกษาชิ้นล่าสุดนี้ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2021 ถึง มีนาคม 2023 โดยมุ่งเน้นที่ “ความซับซ้อนของพฤติกรรมผู้ใช้และพลวัตของพูลภายในสินเชื่อ DeFi” ซึ่งยังไม่มีการสำรวจกันมากนัก ความสำคัญของการศึกษานี้มาจากการรับรู้ว่าโปรโตคอล DeFi ได้อำนวยความสะดวกในการกู้ยืมโดยใช้สินทรัพย์ค้ำประกันด้วยขนาดที่มี “ระดับเศรษฐกิจที่สำคัญ” โดยมีเงินฝากสูงกว่า 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์และหนี้ค้างชำระอยู่ที่ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามที่การศึกษาฯ เผย
ที่มา : coindesk.com