Friday, November 22, 2024
Homeข่าวสาร คริปโตข่าวต่างประเทศความท้าทายของคริปโตเคอร์เรนซีต่อธนาคารกลางทั่วโลก (Cryptocurrency vs. Central Bank) ปี 2019

ความท้าทายของคริปโตเคอร์เรนซีต่อธนาคารกลางทั่วโลก (Cryptocurrency vs. Central Bank) ปี 2019

ผ่านไปหนึ่งปีแล้ว ฉันคาดการณ์เอาไว้ว่าปี 2019 จะเป็นปีแห่งการกำกับดูแล (regulation) ต่อวงการคริปโต โดยสังเคราะห์จากปี 2018 หลังจากที่ปี 2017 โครงการ ICO คึกคักและบูมมาก

ปี 2019 ไม่ทำให้ผิดหวังเลย ทั้งจากสวิตเซอร์แลนด์ เกาหลี ฝรั่งเศส ไปจนถึงลิทัวเนีย ต่างนำเสนอการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจัล (crypto asset) กันถ้วนหน้า ในช่วงปลายปีจีนสั่งห้าม ICO และคริปโตเคอร์เรนซีในปี 2017 ทว่ากลับส่งเสริมเทคโนโลยีบล็อกเชน ปราบปรามตลาดแลกเปลี่ยน (Exchange) ที่ผิดกฎหมายอย่างหนัก ในขณะที่สำนักงานคณะกรรมการตลาดกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) สั่งปรับโครงการ ICO ที่ผิดกฎหมายและไม่ได้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ (security)

เมื่อเทียบกับฉากหลังเหล่านี้ Facebook ประกาศเปิดตัวโครงการ Libra กระตุ้นปฏิกิริยาตื่นตัวระดับโลกตามที่เราเห็นกันอยู่ในวงการคริปโตจนถึงปัจจุบัน กลุ่มประเทศ G7 ตั้งคณะทำงานขึ้นมาติดตาม Libra และเหรียญ stablecoin อื่น ๆ ฝรั่งเศสและเยอรมันก็ถกกันในประเด็นแบน Libra เช่นกัน

Jalak Jobanputra ผู้ก่อตั้ง FuturePerfect Ventures

การนำเสนอ Libra นั้น ได้นำแนวคิดอำนาจอธิปไตย (sovereign) ของสกุลเงินดิจิทัลกระแสหลักมาปรับใช้ แต่จะแตกต่างกับสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (central bank-issued digital currency หรือ CBDC) แต่ Libra เปิดตัวอาศัยความคิดแบบดั้งเดิม หวังจะกลายเป็นกลไกการชำระเงินทางเลือกหลัก (alternative payment) แทนที่ระบบเงินตราแบบเก่า บางทีอาจมากกว่าแค่คริปโตเคอร์เรนซีอย่าง Bitcoin โดย Facebookp พยายามเข้าสู่วงการเพย์เมนต์หลายปีแล้ว หวังอาศัยฐานผู้ใช้งานในปัจจุบัน (รวมทั้ง WhatsApp และ Instagram) นับพันล้านรายจากทั่วโลก รวมถึงพันธมิตรที่ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว Facebook จะสามารถเข้าสู่วงการเพย์เมนต์และขยายช่องทางสร้างรายได้ใหม่โดยไม่จำเป็นต้องเป็นธนาคารเลย

เนื่องจาก Facebook นั่นเอง ทำให้ธนาคารกลางต่าง ๆ สังเกตเห็นภัยคุกคามจากสกุลเงินดิจิทัลของภาคเอกชนอาจเกิดผลกระทบต่อโมเดลทางธุรกิจของพวกเขา ธนาคารกลางทั้งหลายใช้นโยบายทางการเงินจัดการเศรษฐกิจผ่านการควบคุมเงินเฟ้อ สินเชื่อ และการค้าระหว่างประเทศ หากสกุลเงินอิสระถูกยอมรับใช้งานมากกว่าเงินตราของธนาคารแล้วหล่ะก็ ความสามารถในการใช้นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางเป็นเครื่องมือทางการเงินจะลดลงมาก

หลังจาก Libra เปิดตัวโครงการออกมาแล้ว ทางการจีนก็เร่งพัฒนาสกุลเงิน CBDC ของตนเอง และยังประกาศจับมือกับพันธมิตรท้องถิ่นอย่างเช่น WeChat รองผู้อำนวยการธนาคารประชาชนจีน (PBoC) บอกว่า แรงจูงใจในการออกสกุลเงินดิจิทัลก็เพื่อ “ปกป้องอธิปไตยทางการเงินของเรา…” ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น ชาติสมาชิกบริกส์ (BRICS) ได้แก่ บราซิล รัสเซีย จีน และแอฟริกาใต้ ได้ประกาศตัดสินใจสร้างคริปโตตัวใหม่ใช้งานในกลุ่มประเทศสมาชิกเช่นกัน

การตื่นตัวของประเทศต่าง ๆ ที่สนใจสกุลเงินดิจิทัลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก (1) ธนาคารกลางจะสามารถติดตามสกุลเงินของธนาคารได้อย่างใกล้ชิด (กระแสเงินสดติดตามได้ยาก) ได้ (2) ธนาคารกลางสามารถลดการพึ่งพาสกุลเงินหลัก อย่างเช่น เงินดอลลาร์สหรัฐ ได้ ทางเลือกน่าสนใจเหล่านี้น่าสนใจเป็นพิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา นับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในในหลายประเทศเมื่อปี 2008 รวมถึงสวิสเซอร์แลนด์ด้วย ได้เผชิญกับความท้าท้ายจากกฎระเบียบของสหรัฐฯ รวมถึงต้องใช้เงินดอลลาร์สหรัฐในฐานะสกุลเงินสำรองของโลก โดยธนาคารกระแสหลักใช้มันเป็นตัวกลาง หากประเทศต่าง ๆ สามารถออกสกุลเงินดิจิทัลและทำธุรกรรมได้โดยตรงโดยไม่ต้องอาศัยสกุลเงินตัวกลางเลย ตัวอย่างเช่น ฉันกำลังติดตามอินเดียอย่างใกล้ชิด ธนาคารกำลังแบนบริษัทที่เกี่ยวข้องกับคริปโต แต่กำลังประกาศศึกษาความเป็นไปได้ในการออกเงินรูปีดิจิทัล (digital rupee) ต่อสาธารณะ

สกุลเงินดิจิทัล (Digital currency) ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) เสมอไป ความแตกต่างก็คือ สกุลเงินดิจิทัลเป็นเพียงสกุลเงินที่อยู่ออกโดยองค์กรในรูปแบบดิจิทัล ในกรณีของสกุลเงิน CBDC นั้นออกโดยธนาคารกลาง ทว่าคริปโตเคอร์เรนซีอย่าง Bitcoin ไม่ได้ออกโดยหน่วยงานกลาง แต่อาศัยเครือข่ายของนักขุดแบบกระจายศูนย์เพื่อออกสกุลเงินและตรวจสอบการทำธุรกรรมนั่นเอง

ขณะเดียวกันการนำสกุลเงิน CBDC มาใช้และส่งเสริมการใช้งานในวงกว้าง รวมถึงสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ ด้วย อาจทำให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศง่ายขึ้นและผู้บริโภคสะดวกขึ้น รวมถึงสะดวกในการติดตามธุรกรรมและเข้มงวดมากขึ้น ทั่วโลกต้องการ Bitcoin มากขึ้น และความสนใจการเงินแบบกระจายศูนย์จากระแสหลักเพิ่มขึ้นมากในปี 2019 สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ธนาคารกลางต่างตื่นตัวกัน เพราะคิดว่ากำลังถูกคุกคามจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ นั่นเอง หากเป็นเช่นนั้นปีหน้าก็เป็นอีกปีหนึ่งที่น่าติดตามอย่างใกล้ชิด

ที่มา :   coindesk.com
——————————————————–
สนับสนุนโดยกลุ่ม Coin Thai Talk : https://www.fb.com/groups/CoinThaiTalk/ กลุ่มใหม่ของคนรักคริปโต

Sponsorspot_img
spot_img
spot_img
spot_img
ติดตาม Siambitcoin

ข่าวล่าสุด